วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

สีนั้น สำคัญ ฉะไหน?

สีนั้น สำคัญ ฉะไหน

สี (Color) ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง ลักษณะของแสงสว่าง ปรากฏแก่ตาให้เห็นเป็น ขาว ดํา แดง เขียว เป็นต้น; สิ่งที่ทําให้ตาเห็นเป็น ขาว ดํา แดง เขียว เป็นต้น เช่น สีทาบ้าน สีย้อมผ้า สีวาดภาพ.

สีนับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ของมนุษย์ โดแต่ละสีนั้นจะมีความหมายเฉพาะ ในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งความหมายเชิงสัญญะนี้ ก็มักจะต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับ ชาติและวัฒนธรรมนั้น ในบางประเทศมีความเชื่อเกี่ยวกับสีบางสีในทางมงคล แต่ในทางกลับกัน สีเดียวกันนี้อาจจะสื่อในทางลบในมุมมองของอีกวัฒนธรรมหนึ่งเช่นกัน สี ขาว ความหมายในประเทศแถบยุโรปนั้น หมายถึง สันติภาพ, บริสุทธิ์, ความเป็นเอกภาพ ซึ่งจะพบเห็นได้จากงานแต่งงาน แต่สีขาวนั้น ในความหมายของชาวญี่ปุ่น และ ชาวจีน กลับหมายถึง ความเศร้าโศก นิยมใช้ในกับงานศพ
ดังนั้นการที่จะไปพบปะ มิว่าจะในเชิงธุรกิจ หรือการคบค้าสมาคมนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงความหมายของสี เพื่อที่จะได้ใช้ในการแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ สถานที่ และวัฒนธรรม นอกจากการแต่งกายแล้ว ยังรวมถึง การใช้สีในการทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่มักใช้ในการห่อของขวัญ เพื่อให้เหมาะกับวาระโอกาส เมื่อเราทราบความหมายต่างๆของสีเชิงสัญลักษณ์ ว่าสีใด ชาติใด วัฒนธรรมใด ตีความสีนั้นๆว่าเช่นไร ก็เปรียบเสมือนเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกัน เพียงเพราะว่า การตีความหมายของสีต่างกัน ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมความหมายของสีต่างๆ ในแต่ละวัฒนธรรมมา เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน

สีแดง (Red) 

ในความหมายบวกนั้น สีแดง หมายถึง ความรัก, ร้อนแรง, ความโชคดี เป็นสิริมงคล, สิ่งที่โดดเด่นน่าจดจำ เช่น Red Letter Day หมายถึง วันสำคัญที่ดีหรือ วันแห่งความทรงจำ จะเห็นได้จาก เทศกาลบางเทศกาลของชาติตะวันตก เช่น วันคริสมาส (Christmas Day) มักจะประดับประดา แต่งกายด้วย เครื่องแต่งกายสีแดง นอกจากนี้สีแดงยังหมายถึง สิ่งสำคัญ ผู้นำ เช่น พรหมแดง (Red Carpet)  หมาย พรมแดงที่ปูสำหรับต้อนรับแขกคนสำคัญ ซึ่งมักจะพบบ่อยครั้งตามงานประกาศรางวัล งานเลี้ยงรับรองข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือ แขกบ้านแขกเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ สีแดง ยังมีความหมายถึง ความสงสาร น่าเห็นอกเห็นใจ เช่น Red Cross หมายถึง สภากาชาด

สำหรับ ชาวอินเดีย นั้น สีแดง หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความยุติธรรม ซึ่งสีแดงมักจะใช้ในพิธีการทางศาสนา ชาวอินเดียว ยังใช้สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของ กษัตริย์ ที่ประเทศอินเดีย จะมีสถานทีสำคัญชื่อ Red Ford หมายถึงกำแพงแดง เพราะสร้างพระราชวังด้วยหินสีแดง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่สถิตหรือที่ประทับของเจ้าแผ่นดินหรือของพระราชา ซึ่ง Red Ford  นั้น มีทั้งที่เดลลี, อักกรา, สิ
 เคียริ










ใช่ว่าสีแดงจะมีความหมายเชิงบวกเพียงอย่างเดียว สีแดงนั้นก็มีความหมายเชิงลบ เช่นกัน ในเชิงลบนั้น สีแดง คือสัญลักษณ์ ของศึกสงคราม เลือด สถานการณ์ที่สับสนวุ่นวาย รุนแรง อันตราย เช่น ธงแดง (Red Flag) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของระบอบสังคมนิยม
จากที่กล่าวมานั้น สีแดงนั้น มีความหมายทั้งเชิง ลบและเชิง บวกดังนั้นการที่จะ เลือกนำสีแดงมาใช้ ควรที่จะคำนึกถึง วัฒนธรรม ความรู้สึก ความเชื่อ ของผู้ที่เราจะพบปะด้วย วัฒนธรรมจีน นั้น ชาวจีนมีความเชื่อว่า สีแดงคือ สีแห่งความเป็นสิริมงคล ความมั่งคลั่ง ความโชคดี มักจะเห็นได้จากงานมงคลต่าง เช่นงานแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน เป็นต้นแต่ชาติที่ตีความสีแดง โดยต่างจากประเทศจีนอย่างสิ้นเชิง คือ แอฟริกาใต้ สำหรับสีแดงนั้น ชาวแอฟริกาใต้ สื่อถึง ความโศกเศร้า ซึ่งบนธรงชาติประเทศแอฟริกาใต้นั้น ก็มีสีแดงเป็นส่วนประกอบเช่นกัน ซึ่งเรียกว่า สีแดงพริก (Chili Red) ซึ่ง สีแดงในธงชาตินั้น สื่อถึง การฆ่าฟัน การนองเลือด


Credit Reference : 
http://webdesign.about.com/od/colorcharts/l/bl_colorculture.htm
http://www.myuniversalfacts.com/2005/12/meaning-of-colors-color-symbolism.html 
http://www.sensationalcolor.com/color-messages-meanings/color-around-the-globe/india-the-color-red-simplicity-purity-and-candor.html

ความหมายของสีอื่นๆ โปรดติดต่ออาทิตย์หน้าค่ะ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผิดไหม เมื่อคนดังจะใส่ชุดซ้ำ????


ผิดไหม เมื่อคนดังจะใส่ชุดซ้ำ????


แคทเธอรีน มิดเดิลตัน ดัชเชส ออฟ เคมบริดจ์ พระชายาแห่งเจ้าชายวิลเลี่ยม รัชทายาทลำดับที่ 2 ของราชวงศ์อังกฤษ  ถูกวิจารณ์จากนักสังเกตการณ์ราชวงศ์ว่า เธอสวมเสื้อผ้าเครื่อง เครื่องแต่งกาย ซ้ำในการออกงาน หรือ การปรากฎกายต่อหน้าสาธารณชน 



จึงทำให้เกิดคำถามว่า การที่เหล่าคนดัง หรือ สตรีหมายเลขหนึ่ง แต่งกาย หรือประดับด้วยเครื่องประดับชิ้นเดิมนั้นผิดหรือไม่ ถ้าไม่ผิดเหตุใดถึงมีกระแสวิจารณ์ออกมาก และถ้าผิดเหตุผลใดที่ช่วยสนับสนุนว่าการแต่งกายด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ชุดเดิมนั้นผิด มิใช่เพียง แคทเธอรีน มิดเดิลตัน ดัชเชส ออฟ เคมบริดจ์คนเดียวที่เคยสวมเสื้อผ้าซ้ำในการออกงานสังคม แต่ยังมีคนดังท่านอื่นอีกที่เคยสวมเสื้อผ้าออกงานซ้ำ
สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา มิเชลล์ โอบาม่า ผู้ที่หนังสือพิมพ์ รวมไปถึงดีไซเนอร์หลายท่าน ให้สมญาณาม ว่า Fashion Icon นอกจากนี้ วงการแฟชั่นยังถึงกับเอ่ยชมสุภาพสตรีหมายเลข 1 ท่านนี้ว่ารสนิยมดี-เป็นตัวของตัวเอง ก็ยังเคยแต่งกายออกงานด้วย เครื่องแต่งกายที่ซ้ำแล้วเช่นกัน





ดังนั้นเลยสงสัยว่า ขนาดผู้ที่ได้รับคำชมว่า มีรสนิยมดี ยังกล้าที่จะแต่งกายออกสู้สายตาประชาชนด้วยเสื้อผ้าที่ซ้ำ ที่เคยสวมใส่ออกงานเมื่อครั้งก่อนหน้านี้มาก่อนแล้ว แล้วเหตุใด หญิงสูงศักดิ์ จะมิมีสิทธิ์สวมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ซ้ำในการออกงาน หรือปฎิบัติราชกรณียกิจ
ในปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจ ก็มิได้ดีนัก เหตุใดเราจะต้องสวมใส่เสื้อผ้า เพียงหนึ่งครั้งแล้วโยนทิ้ง เพียงเพราะเกรงว่า จะมีคนจำได้ว่าชุดนี้เคยสวมใส่แล้ว อะไรประหยัดได้ก็ประยัดไว้เถอะ แล้วยิ่งสำหรับเราๆท่านๆที่มิใช่คนดัง ก็ยิ่งวรประหยัดเข้าไปใหญ่ จริงหรือไม่??

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ความฝัน กับ ความตาย

ความฝัน กับ ความตาย



ความฝัน กับ ความตาย มีส่วนที่คล้ายกันคือ เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้น หรือไม่ อย่างไร
ความฝัน คือความอยากมี อยากได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือความสำเร็จ มนุษย์ทุกคนต่างก็มีความฝัน บ้างก็ฝันใหญ่ บ้างก็ฝันเล็ก แล้วก็อยู่ที่ว่าเราจะวิ่งตามฝันของเราได้สำเร็จหรือไม่ บางคนฝันอยากทำโน้นทำนี่ แต่มิเคยพยายาม หรือกระทำอะไรเลยที่บ่งบอกว่า จะทำฝันนั้นให้สำเร็จ ทุกคนมีสิทธิ์คิด มีสิทธิ์ฝัน แต่ถ้าฝันแล้วไม่ทำก็ไม่ต่างกับ คนเพ้อเจ้อ แต่ในทางกลับกัน บางคนมีความฝันและก็มุ่งมั่นที่จะทำให้ฝันนั้นเป็นจริง พรากเพียรพยายามที่จะวิ่งไปให้ถึงฝันที่ตนตั้งไว้ นับว่าน่านับถืออย่างยิ่ง
จริงอยู่ฝันเป็นเรื่องของอนาคต ที่ยังมาไม่ถึง เป็นเรื่องที่ไม่มีใครตอบคุณได้ว่าสิ่งที่คุณฝันนั้นจะเป็นจริงได้หรือไม่  สิ่งที่คุณวาดฝันในปัจจุบันมันจะกลายเป็นเรื่องจริงหรือไม่ในอนาคต มีเพียงตัวคุณเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้ ด้วยการกระทำของคุณเองในปัจจุบัน
ความตาย เคือสิ่งที่มุนษย์ทุกคนบนโลกใบนี้มิสามารถหลีกหนีมันไปได้ เมื่อมีเกิดก็ย่อมมีดับ ไม่มีงานเลี้ยงใดที่ไม่เลิกลาเมื่อที่ใดมี ความตาย เกิดขึ้น นั้นหมายถึงว่าสิ่งที่ตามมาคือ ความโศรกเศร้า เสียใจ การจากลา การพลัดพรากชั่วนิรัน ดังนั้นคงไม่มีใครที่อยากให้เกิดเรื่องราวเช่นนี้ขึ้นกับตนเองหรอก จริงไหม? ความตายก็เป็นเรื่องของอนาคตเช่นกัน แต่ต่างกับความฝันตรงที่ว่า เป็นสิ่งที่มิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ ไม่มีใครอยากตาย ไม่มีใครหวังว่าจะต้องตาย ไม่มีใครอยากที่จะพรัดพพรากจากสิ่งที่ตนรักหรอก ความตาย เวลามามันไม่เคยมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าว่าคุณจะต้องตายในวันที่เท่านี้นะ อาจจะมีแค่การคาดคะเนที่ใกล้เคียงในกรณีที่คนๆนั้นกำลังป่วย แต่ก็คงไม่เคยมีแพทย์คนไหนบอกว่าผู้ป่วยท่านนี้จะต้องตายในวันที่เท่านี้ๆได้หรอก
ความตาย กับ ความฝันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร สองสิ่งนี้เป็นเรื่องของอนาคต แต่สิ่งหนึ่งคือสิ่งที่มนุษย์อยากให้เป็นจริง ส่วนอีกสิ่งมนุษย์มิได้หวังให้เกิดขึ้นจริง สองสิ่งนี้เชื่อได้ว่าทุกคนต้องมีความรู้สึกเช่นนี้ด้วยเช่นกัน เราทุกคนมีฝัน อยากให้ฝันเราสำเร็จ แต่เราก็ไม่อยากที่จะตาย
คุณหละมีความฝันอะไรไหม แล้วได้พยายามทำให้ฝันของคุณสำเร็จหรือยัง ผู้เขียนมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งที่อยากจะยกตัวอย่างให้เห็นถึงความพยายามที่จะวิ่งตามฝัน จนวันหนึ่งสิ่งที่เขาฝันนั้นก็สำเร็จ แต่สิ่งที่ตามมาเร็วเกินไปนั้นคือ ความตาย
เขาชื่อ นาย อรรถเดช กิจวาศน์ ชื่อเล่น เดช เป็นเพื่อนสมัยมัธยมของผู้เขียนเอง เพื่อนคนนี้เรียนจบปริญญาตรีช้ากว่าเพื่อนๆเกือบ สามปี เพราะในตอนแรกที่เราจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกคนก็ได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆกัน เดชก็เช่นกัน แต่เดชเป็นคนที่ฝันอยากทำหนัง อยากทำงานเกี่ยวกับภาพยนต์ ดังนั้นตอนที่เราเรียนจบ ม.6 กันมาเดชได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครแต่ในช่วงนั้นเดชก็ได้ตั้งใจอ่านหนังสือ เพื่อหวังที่จะเอนทรานอีกรอบ เพื่อเข้าคณะที่ตัวเองฝันไว้ให้ได้ แล้วเขาก็ทำสำเร็จ ในที่สุดเดช ก็สามารถสอบเข้า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และวิดีโอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ดังนั้นการที่เดช จะเข้าเรียนนั้น แสดงว่าเค้าจะต้องช้าไปกว่าเพื่อนๆ 2 ปี เพราะตอนที่เดชได้เข้าเรียนที่ลาดกระบังนั้น ทุกคนอยู่ชั้นปีที่สองกันแล้ว เขาทำให้เห็นว่า ไม่ว่าเวลาผ่านไปแค่ไหน เขาไม่เคยทิ้งความฝัน ยังคงพยายามวิ่งตามฝันอยู่ตลอดเวลา จนวันนึงก็ได้เรียนในสิ่งที่ตนชื่นชอบ
จากความฝันที่อยากทำงานเกี่ยวกับภาพยนต์ ถึงตอนนี้เขาได้เริ่มเข้าใกล้มันไปทุกทีแล้ว จนวันนึงที่เขาสำเร็จการศึกษา เขาได้พยายามที่จะหางาน ตามที่ต่างๆเพื่อให้ตรงกับสายงาน แล้ววันนี้ก็มาถึง เข้าได้เข้าทำงานที่ พร้อมมิตร โปรดักชั่น เป็นบริษัทจำกัดที่ผลิตงานประเภทภาพยนตร์ไทย และสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ ก่อตั้งขึ้นโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย เข้าได้เดินทางเข้าใกล้ความฝันเขาอีกก้าวหนึงแล้ว จนล่าสุดเดช ได้เป็นส่วนหนึ่งของ อภิมหากาพย์ภาพยนตร์ไตรภาคที่ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราช ภาค 3 ในฐานะ ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง แทบจะกล่าวได้ว่าสิ่งที่เขาฝันมาตลอดชีวิตนั้นเป็นความจริงแล้ว เขาได้ทำงานภาพยนต์อย่างที่เขาฝันมานาน แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น นั้นคือ ในวันที่มีการฉายรอบ Royal gala premier ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554 ณ ศาลาเฉลิมกรุง หลังจากการฉายหนังรอบอันทรงเกียรติได้จบลง เข้าได้เดินทางกลับบ้าน แต่ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ บนมอเตอร์เวย์ เสียชีวิตในทันที ตำรวจสันนิฐานว่า น่าจะเกิดจากหลับใน เส้นทาง ความฝันในวงการภาพยนต์ได้จบลง อย่างคาดไม่ถึง
เมื่อทุกคนได้ทราบข่าวการจากได้ของเพื่อนคนนี้ก็แทบจะไม่เชื่อในตอนแรก เพราะเป็นการจากไปชั่วนิรัน เป็นการจากไปที่ไม่มีการร่ำลา ไม่มีสัญญาณบอกเหตุ มันกระทันหันเกินไป เกินว่าที่ทุกคนจะรับได้
แต่อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วคือ ความฝัน ของเดชที่เดชฝันแล้วก็ได้ทำสำเร็จแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ทันได้อยู่ดูความสำเร็จของตนว่าสำเร็จเพียงใด
ดังนั้นเมื่อมองกลับมาดูที่เราๆท่านๆทุกคนหละ คุณมีฝัน แล้วได้พยายามทำให้ฝันคุณเป็นจริงหรือยัง คุณได้พยายามวิ่งตามฝัน หรือว่าคุณฝันแต่กลับนั่งรอให้ความฝันมาหาคุณหรือเปล่า อย่าลืมนะว่าความตายเวลามันมา มันไม่เคยบอกก่อนล่วงหน้า ดังนั้นรีบซะ รีบทำสิ่งที่คุณฝันให้เป็นจริง ก่อนที่คุณจะไม่มีโอกาส ก่อนที่วันนึงความตายจะมาพรากคุณไปจากความฝัน
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนอยากจะขอเวลาเล็กน้อยของทุกท่านที่ชมภาพยนต์เรื่อง ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราช ภาค 3 ว่า เมื่อทุกท่านชมจบ อยากจะขอให้อยู่ต่ออีกซักนิดเพื่อดูรายชื่อทีมงาน นักแสดง อยากให้อยู่ดูรายชื่อของทีมงานที่พรากเพียร ทำจนภาพยนตร์เรื่องนี้สำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ แล้วคุณก็จะได้เห็นชื่อของคนๆนี้รวมอยู่ด้วย ผู้ช่วยผู้กำหับการแสดง นายอรรถเดช กิจวาศน์ บุคคลที่ไม่มีแม้โอกาสที่จะได้อยู่ดูความสำเร็จของตนเอง ก็คงจะมีเพียงแค่เราๆท่านๆนี้แหละที่จะได้เห็นชื่อของเขา

ขออาลัยให้กับการจากไปของเพื่อนเดช การจากไปอย่างไม่มีวันกลับมา ขอให้เพื่อนไปสู่สุขติ






วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จะถูกจะแพง ขอแดงไว้ก่อน

พอพูดถึงคำนี้ปุ๊บ เชื่อว่าถ้าให้นึกถึงชาติที่มีค่านิยม ความเชื่อต่างๆผูกพันธ์กับ สีแดง ก็เชื่อว่าหลายๆท่านก็ต้องนึกถึง จีน เป็นอันดับแรก

สีแดง สำหรับชาวจีนนั้น เชื่อกันว่าเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล พลังอำนาจ ความกล้าหาญ ความเชื่อมั่น เห็นได้จาก ในเทศกาลตรุษจีนไม่ว่าจะเป็นซองอั่งเปา, ประทัด, กระดาษต่างๆที่นำมาห่อของสำหรับเซ่นไหว้ ล้วนแล้วแต่เป็นสีแดง เพราะต้องการสื่อถึง ความเป็นสิริมงคล ความมั่งมีศรีสุขมาสู่ครอบครัว นอกจากนี้จะสังเกตได้จาก ในพิธีงานมงคลต่างๆเช่น งานแต่งงาน ชุดบ่าว-สาว ล้วนแล้วแต่เป็นสีแดงทั้งสิ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ชาวจีนนั้นมีความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีที่ผูกพันกับสีแดงมาแต่โบราณ พอกล่าวถึงสีแดง กับ ชาวจีน เลยทำให้นึกถึงภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำ ที่จัดเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน ในการมาเยือนสหรัฐอเมริการ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา



การปรากฎตัว ที่มาพร้อมกับชุดสีแดงของมิเชล โอบาม่า ในครั้งนี้ เป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางจากสื่อต่างๆ รวมไปถึงคำวิจารณ์กันไปต่างๆนานาของดีไซเนอร์หลายๆท่าน มีทั้งด้านบวกและด้านลบ
ชุดราตรีสีแดงนี้ เป็นของห้องเสื้อ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน (Alexander McQueen) แบรนด์ดังจากเกาะอังกฤษ ออกแบบโดย ซาราห์ เบอร์ตัน ดีไซเนอร์ของห้องเสื้อแห่งนี้ ที่ได้ก้าวขึ้นมาแทน อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ดีไซเนอร์ที่ได้เสียชีวิตลงไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายใต้ คอลเลคชั่น Alexander McQueen Resort 2011




การเลือกสวมชุดของ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ออกงานครั้งนี้ของมิเชล มีดีไซเนอร์ชาวอเมริกันบางท่านออกมาวิจารณ์ว่า ผิด ผิด ผิด!!! เป็นความผิดพลาดอย่างมากที่เลือกแบรนด์ต่างชาติ ทำไมมิเชลไม่เลือกชุดที่เป็นแบรนด์เชื้อสายอเมริกัน หรือไม่ก็จีน เพราะจะได้เป็นการช่วยโปรโมทการค้าระหว่างอเมริกา-จีน รวมไปถึงเป็นการสนับสนุนสินค้าของจีนในอเมริกาไปอีกทาง แต่ทำไมเธอถึงไปเลือกแบรนด์ดังฝั่งยุโรปแทน ซึ่งมิเชลก็ได้ออกมาบอกว่า การที่เธอใส่เสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์ของอเมริกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะช่วยให้ชาวจีนแห่กันมาสนับสนุนเสื้อผ้าแบรนด์อเมริกันซักหน่อยกับประโยคนี้ผู้เขียนเห็นด้วยเต็มๆเลยเพราะ ใส่แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนแห่มาซื้อตามนะ


สี      
สีแดง เป็นที่รู้กันดี อย่างที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นถึง ความเชื่อและความหมายขอสีแดงที่สื่อไปในทางความหมายมงคลต่างๆ ก็ ไม่แปลกที่ เธอจะเลือกเสื้อผ้าสีแดงมาต้อนรับ ประธานาธิบดีจากจีน แต่อย่างอื่นหละ ทำไมต้องชุดราตรีสีแดง ของแบรนด์นี้ ทำไมไม่เป็นแบรนด์อื่น??

รูปแบบ       
เป็นชุดที่มาจากคอลเลคชั่น Alexander McQueen Resort 2011 ซึ่ง แรงบัลดาลใจหลักของคอลเลคชั่นนี้คือ แรงบัลดาลใจในเอเชียจะเห็นได้จาก ลายดอกไม้ที่ถูกพิมพ์บนผ้า (มองไปมองมาลายก็ดูออกจีนๆนะนี้) และที่สำคัญตัดเย็บจากผ้าไหมชนิดหนึ่ง เรียกว่า ซิลค์ ออร์แกนซ่า(Silk organza) ซึ่งนิยมทอกันมากในแถบแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River ) เป็นระยะเวลานานมาแล้ว รวมไปถึงใน มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang)  ของประเทศจีน แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีแต่ในจีนเท่านั้นที่ผลิตผ้าชนิดนี้มีทั้ง อินเดีย, บังคาลอร์, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ตุรกี เป็นต้น ถึงตอนนี้ก็บอกได้เลยว่า ถึงจะเป็นยุโรป แต่ชุดนี้สื่อถึงเอเชียเต็มๆ และมีหลายๆจุดที่ถูกเชื่อมโยงไปสู่ ประเทศจีน อย่างเห็นได้ชัด

ห้องเสื้อ         
ทำไมต้องเป็น อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ไม่เป็นแบรนด์เชื้อสายอเมริกันหรือจีน  ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การที่เลือกสวมใส่แบรนด์ชาติตนเอง หรือชาติที่มาเยือนนั้น มันดูเป็นการจงใจเกินไป ว่าง่ายๆประจบนั้นแหละ แล้วอีกอย่างคือ ดูเธออยากจะสื่อว่า อเมริกาไม่ได้อิงชาติตนเองนะ อเมริกาไม่ได้เข้าข้างหรือยกหางตนเองนะถึงแม้เธอจะมีสิทธิ์ที่จะทำก็ตาม แต่ เธอต้องการบอกให้โลกรับรู้ว่า อเมริกานั้นเปิดกว้างให้ความเสมอภาคกับทุกๆชาติ ประเด็นนี้มีความเป็นไปได้สูงเลยทีเดียว เพราะเมื่อพิจารณาจาก ประเด็นหลักๆในการเจรจาระหว่างอเมริกากับจีนในการมาเยือนอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ก็มีเรื่องของสิทธิมนุษยชน เป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการเจรจารวมอยู่ด้วย

อีกประเด็นหนึ่ง จริงอยู่ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน เป็นแบรนด์ดังเชื้อสายอังกฤษ แต่ใครจะรู้บ้างว่า แบรนด์หรูจากฝั่งฝรั่งเศสอย่าง กุชชี่ (Gucci Group) ได้ซื้อหุ้นในบริษัท อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน  51% ในปี ค.ศ. 2000 ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนับเป็นหุ้นซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ หลังจากที่กุชชี่ได้ซื้อหุ้น ก็ได้มีการเปิดร้านใหม่ในกรุงลอนดอน, มิลาน, นิวยอร์ค, ลาสเวกัส และอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเลยว่าแบรนด์นี้ เปรียบเสมือนการรวมตัวกันของสองแบรนด์ใหญ่ เพื่อต้องการสร้างการตลาดที่กว้างขึ้น การเลือกซื้อ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ก็นับได้ว่าเป็นการสนับสนุนทั้ง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส นั้นเอง รวมถึงสื่อเป็นนัยๆถึงการพร้อมที่จะเปิดกว้างให้การสนับสนุนกับทุกชาติ ทุกชนชั้น โดยไม่ยึดชาติตนเองเป็นหลัก

การเลือกเสื้อผ้า ในครั้งนี้ของมิเชลล์ เธออาจจะต้องการสื่อว่า อเมริกาได้พยายามก้าวข้ามพรมแดนของตนออกสู่ภายนอก เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับชาติต่างๆ โดยไม่ได้ยึดติดกับชาตินิยม หรือวัฒนธรรมเดิมๆ




ประเด็ดสุดท้าย สินค้าที่ประทับว่า “Made in China” มักจะถูกมองว่าเป็นสินค้าคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ว่าสินค้านั้นจะเป็นของแท้ (Authentic) ก็ตาม ด้วยค่านิยมนี้นี่เอง ยิ่งส่งผลให้ ผู้บริโภคไม่อยากซื้อสินค้าอะไรก็ตามที่จีนเป็นแหล่งผลิต ช่วง 2-3 ปีมานี้ จีนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยได้ประกาศแคมเปญโฆษณา เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับสินค้า Made in China ซึ่งเป็น โฆษณาส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าที่ผลิตขึ้นในจีน เลยทำให้นึกไปถึง พวงกุญแจของ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน อยู่รุ่นหนึ่งชื่อ Enamel Skull Key Ring ที่ออกมาในปี 2010 ซึ่ง พวงกุญแจรุ่นนี้มีทั้งที่เป็น Made in China (ซึ่งก็เป็นของแท้) และ Made in Italy ด้วย เลยทำให้นึกขึ้นมาว่า อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน อาจจะต้องการจะสื่อว่า  เห็นไหมว่าไม่ว่าจะเป็น Made in China หรือ Made in Italy ก็ไม่เห็นจะมีตรงไหนที่ต่างกันเลย คุณภาพก็เหมือนกันทุกประการ ต่างแค่ตราประทับของแหล่งผลิต ก็เป็นได้ แต่ที่เห็นได้ชัดๆ จาก เรื่องนี้ คือ การที่ แบรนด์ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน เริ่มที่จะมีสินค้าที่ผลิตที่จีนนั้นหมายถึง เป็นการช่วยสนับสนุนแรงงานจีน ดังนั้นการซื้อสินค้าของ อเล็กซานเดอร์ แม็คควีน ก็เปรียบเสมือนช่วยส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงาน จีนต่อไป








หรือ แท้จริงแล้ว มิเชลล์ อาจจะไม่ได้คิดอะไรเลยก็ได้ อาจจะคิดเพียงแค่ว่า ชุดราตรีสีแดงชุดนี้สวยและเหมาะกับเธอ โดยที่ไม่ได้มีเหตุผลอื่นๆเป็นตัวช่วยในการการตัดสินใจ ก็เป็นได้



ดังนั้น เสื้อผ้า ก็เปรียบเสมือน ภาษา ภาษาหนึ่งที่สามารถสื่อความหมายต่างๆนานาออกมาจากตัวเองผ่าน ลวดลาย วัสดุในการตัดเย็บ และ สีสันของตัวเอง









วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โทษทุกอย่าง ยกเว้นตัวเอง

ในสังคมเราทุกวันนี้ ทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่บ่อยนักที่จะมีคนยกมือขึ้นแล้วบอกว่า ผม/ฉัน ผิดเอง, ความผิดมาจากเราเอง ส่วนใหญ่ที่บอกว่า ฉํนผิดเอง นั้นเป็นเพียงคำประชดประชัน ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองผิดอย่างจริงใจหรอก 
ทำไม ต้องโทษคนอื่น ทำไมต้องโทษสภาพแวดล้อมรอบๆตัว ทำไมต้องคิดอยู่เพียงแค่ว่าคนนั้นผิด คนนี้ผิด เลยทำให้เป็นแบบนี้ ถ้าคนเราลองเปลี่ยนความคิด แล้วในทุกครั้งที่เกิดปัญหาคือ สิ่งแรกที่ทำเลย ลองเปลี่ยนมาเป็น เราไปทำอะไรไว้ ถึงทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ เราไปพูดหรือไปกระทำอะไรโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือเปล่า ทั้งหมดทั้งปวงคือ หยุดคิอแบบมีสติ ทุกครั้งที่เกิดปัญหา

อย่าง ตอนนี้เลยเรื่องที่กำลังเป็นกระแสคือ กรณีพิพาทระหว่าง ไทย-กัมพูชา คนไทยก็คิดแต่ว่ากัมพูชาผิด ผิดที่ยิงก่อน ผิดที่แย่งเอาของของเราไป ไม่ต่างกันลองไปถามชาวกัมพูชาดูซิ เขาก็คิดแบบเราเลย คนไทยยิงคนกัมพูชาก่อน คนไทยแย่งของของเขา ทั้งที่มีคำตัดสินของ ยูเนสโกไปแล้ว
น้อยคนที่จะทราบข้อมูลว่า คดีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารนี้ไม่ได้พึ่งเกิด หากแต่เกิดมาจะร้อยปีได้แล้ว ถ้านับจากวันที่มีการค้นพบเขาพระวิหาร จริงอยู่ ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ต่อมา ในปี พ.ศ.2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ตั้งแต่มีการค้นพบเขาพระวิหาร ก็มีการเปลี่ยนมือกันไป เปลี่ยนมือกันมา ในเรื่องของการมีสิทธิครอบครอง พื้นที่ส่วนนี้




credit : http://tumtoilet3.tarad.com/shop/t/tumtoilet3/img-lib/spd_20070809230532_b.jpg



เรื่อง เริ่มมารุนแรงเมื่อไร่? เมื่อศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน ได้ตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ซึ่งทางประเทศไทยก็ได้พยายามคัดค้านคำตัดสินของศาลโลก ด้วยเรื่องที่ว่า ประเทศไทยไม่เคยทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลกใหม่) เพราะฉะนั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาในคดี ข้อพิพาทเขาพระวิหาร ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยแต่ต่ออายุ เขตอำนาจศาลโลกเก่า มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น?


credit : http://travel.sanook.com/story_picture/m/01219_026.jpg


ประเทศไทยเคยทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ไว้ทั้งหมด 3 ฉบับ ฉบับแรก มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930  ซึ่งในฉบับที่สอง นั้นเราได้ยื่น ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 มีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940 ต่อมา เราก็ได้ทำการต่ออายุ โดยยื่นฉบับที่สาม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 สังเกตกันดีๆ นับดู (ระยะเวลาของแต่ละฉบับคือ 10 ปี) เพราะฉะนั้นหมายถึงว่า เราได้ยื่น ต่ออายุ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก หลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง หมดอายุลงไปแล้ว นับตั้งแต่ ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 โดย ศาลโลกใหม่ ได้มีการระบุอยู่ใน มาตราที่ 36 วรรค 5 ว่า

Article 36 (5) Declarations made under Article 36 of the Statute of the Permanent Court of International Justice and which are still in force shall be deemed, as between the parties to the present Statute, to be acceptances of the compulsory jurisdiction of the International Court of Justice for the period which they still have to run and in accordance with their terms.

แปลเป็นไทยง่ายๆว่า  คำประการยอมรับเขตอำนาจ ของศาลเก่า จะยังมีผลบังคับ ในศาลโลกใหม่ หาก คำประกาศนั้น ยังไม่หมดอายุ

ประเทศไทยพยายามที่จะคัดค้านโดยกล่าวว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงไปแล้ว นับตั้งแต่ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดลง ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับได้อีกอีกต่อไป อีกทั้งคำประกาศที่ประเทศไทยได้ยื่นนั้นเป็นการต่ออายุการยอมรับอำนาจศาลโลกเก่า มิใช่ ศาลโลกใหม่แต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจในเรื่องนี้
แต่ศาลโลกพิจารณาจากวันที่ประเทศไทยได้ยื่นต่ออายุเขตอำนาจฉบับที่สาม เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 ซึ่งเกิดขึ้น 4 ปีนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดศาลโลกเก่า (19 เมษายน ค.ศ.1946) ซึ่งการที่จะต่ออายุนั้น สิ่งๆนั้นยังต้องมีผลอยู่ มิได้สิ้นสุดหรือยุติลงไปแล้ว อีกทั้งในขณะที่ประเทศไทยยื่นฉบับที่สามก็รู้ดีว่า ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดไปแล้วกว่าสี่ปี ดังนั้นฟังไม่ขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ศาลโลกมองว่า ฉบับที่สามหาใช่การต่ออายุ ฉบับที่หนึ่งและสองไม่ หากแต่เป็นคำประกาศยอมรับอำนาจของศาลโลกใหม่ เพราะฉะนั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลกใหม่) มีขอบอำนาจในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา นี้เพียงแค่เรื่องแรก ก็พอจะมองออกแล้วว่า จุดเริ่มต้นนั้นเป็นความผิดพลาดของใครกันแน่

อีกประเด็นหนึ่งที่ศาลโลกนำมาพิจารณา คือ ความนิ่งเฉยของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ใช่ว่าศาลโลกจะหยิบประเด็น ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีมาพิจารณาหากแต่ ศาลโลกพิจารณาจากหลายๆกรณีที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน
ในปี  พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่น แผ่นนึงระบุว่าปราสาทพระวิหารในแผนที่ฉบับนี้ เป็นดินแดนของกัมพูชา ซึ่ง สยามในขณะนั้นก็ไม่ได้มีการท้วงติง ยอมรับแต่อย่างใด

credit : http://www.vitalstarclub.com/private_folder/News/Image.jpg


นอกจากนี้อีกเหตุการที่ศาลโลกมองว่า ประเทศไทยยอมรับว่าเขาพระวิหารนั้นอยู่ในกัมพูชาคือ ในปีพ.ศ. 2473  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร เมื่อเสด็จถึงเขาพระวิหารทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชาที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส โดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงการแสดงถึงการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายประเทศไทย

ศาลโลกมองว่าประเทศไทยนิ่งเฉยมาเป็นเวลานานมากแล้ว ไม่มีการท้วงติง คัดค้านใดๆเลย เปรียบเสมือนประเทศไทยยอมรับสภาพ ยอมรับที่ว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ถึงตอนนี้เราจะเรียกร้องอะไร?

จากเหตุการพิพาทนี้ เห็นได้ชัดว่า ประเทศไทยไม่เคยโทษตัวเองเลยว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด หากแต่โทษคำตัดสินของศาลโลก โทษกัมพูชา โทษอะไรก็ได้ที่โทษได้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เรานั้นแหละคือสาเหตุทั้งหมดของเรื่องนี้
ถึงตอนนี้คำที่ว่า โทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง ก็ทำให้กระจ่างขึ้นมาทันที เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่มันจะมองว่าคนอื่นผิด โยนความผิดให้พ้นตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนลืมไปนั้นคือ สาเหตุที่มาจากตนเอง ถ้าเปลี่ยนมุมมองมาเป็นว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ลองคิดทบทวนให้ดีก่อนว่า ผล ณ ขณะปัจจุบันที่ แท้จริงแล้วที่มาของปัญหาเกิดมาจากสิ่งใด อย่ว่าแต่เรื่องข้อพิพาทไทย-กัมพูชาเลย เรื่องเล็กๆทุกเรื่องนั้นแหละ เช่นเมื่อคุณขับรถชน คุณมักจะโทษว่าก็คนขับรถคันนั้นขับไม่ดี แล้วคุณหละขับดีแล้วหรือ เวลาที่คุณสอบได้คะแนนไม่ดี คุณมักจะโทษว่าก็อาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง ข้อสอบยาก แล้วตัวคุณหละตั้งใจเรียน สนใจทบทวนดีแล้วหรือ

ถ้าเราเริ่มที่จะเปลี่ยนมุมมอง มองทุกอย่างโดยโทษตัวคุณเองก่อน เรื่องหลายๆเรื่องอาจจะไม่ร้ายแรง หรือบานปลายก็เป็นได้ ดังเช่นกรณีพิพาทเขาพระวิหาร ถ้าลดทิฐิ แล้วคุยกันดีๆตั้งแต่แรก ยอมรับในส่วนที่ตนเองผิดพลาด ประณีประนอมกันเรื่องรุนแรงอาจจะไม่เกิดขึ้นอย่างทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วแหละที่สังคมไทยควรจะหยุด พฤติกรรมที่เรียกว่า โทษทุกอย่างยกเว้นตนเอง

แหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/
บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://www.icj-cij.org