วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โทษทุกอย่าง ยกเว้นตัวเอง

ในสังคมเราทุกวันนี้ ทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่บ่อยนักที่จะมีคนยกมือขึ้นแล้วบอกว่า ผม/ฉัน ผิดเอง, ความผิดมาจากเราเอง ส่วนใหญ่ที่บอกว่า ฉํนผิดเอง นั้นเป็นเพียงคำประชดประชัน ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองผิดอย่างจริงใจหรอก 
ทำไม ต้องโทษคนอื่น ทำไมต้องโทษสภาพแวดล้อมรอบๆตัว ทำไมต้องคิดอยู่เพียงแค่ว่าคนนั้นผิด คนนี้ผิด เลยทำให้เป็นแบบนี้ ถ้าคนเราลองเปลี่ยนความคิด แล้วในทุกครั้งที่เกิดปัญหาคือ สิ่งแรกที่ทำเลย ลองเปลี่ยนมาเป็น เราไปทำอะไรไว้ ถึงทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ เราไปพูดหรือไปกระทำอะไรโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือเปล่า ทั้งหมดทั้งปวงคือ หยุดคิอแบบมีสติ ทุกครั้งที่เกิดปัญหา

อย่าง ตอนนี้เลยเรื่องที่กำลังเป็นกระแสคือ กรณีพิพาทระหว่าง ไทย-กัมพูชา คนไทยก็คิดแต่ว่ากัมพูชาผิด ผิดที่ยิงก่อน ผิดที่แย่งเอาของของเราไป ไม่ต่างกันลองไปถามชาวกัมพูชาดูซิ เขาก็คิดแบบเราเลย คนไทยยิงคนกัมพูชาก่อน คนไทยแย่งของของเขา ทั้งที่มีคำตัดสินของ ยูเนสโกไปแล้ว
น้อยคนที่จะทราบข้อมูลว่า คดีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารนี้ไม่ได้พึ่งเกิด หากแต่เกิดมาจะร้อยปีได้แล้ว ถ้านับจากวันที่มีการค้นพบเขาพระวิหาร จริงอยู่ ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ต่อมา ในปี พ.ศ.2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ตั้งแต่มีการค้นพบเขาพระวิหาร ก็มีการเปลี่ยนมือกันไป เปลี่ยนมือกันมา ในเรื่องของการมีสิทธิครอบครอง พื้นที่ส่วนนี้




credit : http://tumtoilet3.tarad.com/shop/t/tumtoilet3/img-lib/spd_20070809230532_b.jpg



เรื่อง เริ่มมารุนแรงเมื่อไร่? เมื่อศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน ได้ตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ซึ่งทางประเทศไทยก็ได้พยายามคัดค้านคำตัดสินของศาลโลก ด้วยเรื่องที่ว่า ประเทศไทยไม่เคยทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลกใหม่) เพราะฉะนั้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาในคดี ข้อพิพาทเขาพระวิหาร ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยแต่ต่ออายุ เขตอำนาจศาลโลกเก่า มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น?


credit : http://travel.sanook.com/story_picture/m/01219_026.jpg


ประเทศไทยเคยทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ไว้ทั้งหมด 3 ฉบับ ฉบับแรก มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930  ซึ่งในฉบับที่สอง นั้นเราได้ยื่น ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 มีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940 ต่อมา เราก็ได้ทำการต่ออายุ โดยยื่นฉบับที่สาม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 สังเกตกันดีๆ นับดู (ระยะเวลาของแต่ละฉบับคือ 10 ปี) เพราะฉะนั้นหมายถึงว่า เราได้ยื่น ต่ออายุ คำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก หลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง หมดอายุลงไปแล้ว นับตั้งแต่ ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 โดย ศาลโลกใหม่ ได้มีการระบุอยู่ใน มาตราที่ 36 วรรค 5 ว่า

Article 36 (5) Declarations made under Article 36 of the Statute of the Permanent Court of International Justice and which are still in force shall be deemed, as between the parties to the present Statute, to be acceptances of the compulsory jurisdiction of the International Court of Justice for the period which they still have to run and in accordance with their terms.

แปลเป็นไทยง่ายๆว่า  คำประการยอมรับเขตอำนาจ ของศาลเก่า จะยังมีผลบังคับ ในศาลโลกใหม่ หาก คำประกาศนั้น ยังไม่หมดอายุ

ประเทศไทยพยายามที่จะคัดค้านโดยกล่าวว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงไปแล้ว นับตั้งแต่ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดลง ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับได้อีกอีกต่อไป อีกทั้งคำประกาศที่ประเทศไทยได้ยื่นนั้นเป็นการต่ออายุการยอมรับอำนาจศาลโลกเก่า มิใช่ ศาลโลกใหม่แต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจในเรื่องนี้
แต่ศาลโลกพิจารณาจากวันที่ประเทศไทยได้ยื่นต่ออายุเขตอำนาจฉบับที่สาม เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 ซึ่งเกิดขึ้น 4 ปีนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดศาลโลกเก่า (19 เมษายน ค.ศ.1946) ซึ่งการที่จะต่ออายุนั้น สิ่งๆนั้นยังต้องมีผลอยู่ มิได้สิ้นสุดหรือยุติลงไปแล้ว อีกทั้งในขณะที่ประเทศไทยยื่นฉบับที่สามก็รู้ดีว่า ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดไปแล้วกว่าสี่ปี ดังนั้นฟังไม่ขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ศาลโลกมองว่า ฉบับที่สามหาใช่การต่ออายุ ฉบับที่หนึ่งและสองไม่ หากแต่เป็นคำประกาศยอมรับอำนาจของศาลโลกใหม่ เพราะฉะนั้น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลกใหม่) มีขอบอำนาจในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา นี้เพียงแค่เรื่องแรก ก็พอจะมองออกแล้วว่า จุดเริ่มต้นนั้นเป็นความผิดพลาดของใครกันแน่

อีกประเด็นหนึ่งที่ศาลโลกนำมาพิจารณา คือ ความนิ่งเฉยของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ใช่ว่าศาลโลกจะหยิบประเด็น ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีมาพิจารณาหากแต่ ศาลโลกพิจารณาจากหลายๆกรณีที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน
ในปี  พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่น แผ่นนึงระบุว่าปราสาทพระวิหารในแผนที่ฉบับนี้ เป็นดินแดนของกัมพูชา ซึ่ง สยามในขณะนั้นก็ไม่ได้มีการท้วงติง ยอมรับแต่อย่างใด

credit : http://www.vitalstarclub.com/private_folder/News/Image.jpg


นอกจากนี้อีกเหตุการที่ศาลโลกมองว่า ประเทศไทยยอมรับว่าเขาพระวิหารนั้นอยู่ในกัมพูชาคือ ในปีพ.ศ. 2473  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยี่ยมชมเขาพระวิหาร เมื่อเสด็จถึงเขาพระวิหารทรงได้รับการต้อนรับเป็นทางการจากข้าหลวงฝรั่งเศสของจังหวัดกัมพูชาที่ติดต่อกับชายแดนในนามของข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส โดยมีธงฝรั่งเศสชักไว้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงการแสดงถึงการยอมรับโดยปริยายจากฝ่ายประเทศไทย

ศาลโลกมองว่าประเทศไทยนิ่งเฉยมาเป็นเวลานานมากแล้ว ไม่มีการท้วงติง คัดค้านใดๆเลย เปรียบเสมือนประเทศไทยยอมรับสภาพ ยอมรับที่ว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ถึงตอนนี้เราจะเรียกร้องอะไร?

จากเหตุการพิพาทนี้ เห็นได้ชัดว่า ประเทศไทยไม่เคยโทษตัวเองเลยว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด หากแต่โทษคำตัดสินของศาลโลก โทษกัมพูชา โทษอะไรก็ได้ที่โทษได้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เรานั้นแหละคือสาเหตุทั้งหมดของเรื่องนี้
ถึงตอนนี้คำที่ว่า โทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง ก็ทำให้กระจ่างขึ้นมาทันที เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่มันจะมองว่าคนอื่นผิด โยนความผิดให้พ้นตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนลืมไปนั้นคือ สาเหตุที่มาจากตนเอง ถ้าเปลี่ยนมุมมองมาเป็นว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ลองคิดทบทวนให้ดีก่อนว่า ผล ณ ขณะปัจจุบันที่ แท้จริงแล้วที่มาของปัญหาเกิดมาจากสิ่งใด อย่ว่าแต่เรื่องข้อพิพาทไทย-กัมพูชาเลย เรื่องเล็กๆทุกเรื่องนั้นแหละ เช่นเมื่อคุณขับรถชน คุณมักจะโทษว่าก็คนขับรถคันนั้นขับไม่ดี แล้วคุณหละขับดีแล้วหรือ เวลาที่คุณสอบได้คะแนนไม่ดี คุณมักจะโทษว่าก็อาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง ข้อสอบยาก แล้วตัวคุณหละตั้งใจเรียน สนใจทบทวนดีแล้วหรือ

ถ้าเราเริ่มที่จะเปลี่ยนมุมมอง มองทุกอย่างโดยโทษตัวคุณเองก่อน เรื่องหลายๆเรื่องอาจจะไม่ร้ายแรง หรือบานปลายก็เป็นได้ ดังเช่นกรณีพิพาทเขาพระวิหาร ถ้าลดทิฐิ แล้วคุยกันดีๆตั้งแต่แรก ยอมรับในส่วนที่ตนเองผิดพลาด ประณีประนอมกันเรื่องรุนแรงอาจจะไม่เกิดขึ้นอย่างทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วแหละที่สังคมไทยควรจะหยุด พฤติกรรมที่เรียกว่า โทษทุกอย่างยกเว้นตนเอง

แหล่งข้อมูล
http://th.wikipedia.org/wiki/
บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://www.icj-cij.org




2 ความคิดเห็น:

  1. จะเกิดอะไรขึ้นในวันนี้ถ้าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ค้นพบปราสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.2442 อีกด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายกัมพูชาเองก็นิ่งเฉยไม่เคยสนใจในปราสาทพระวิหารนี้เลย ปล่อยให้รกร้างรกชฏมานาน

    ตอบลบ
  2. ก็คงคล้ายๆกับ นครวัด นครธม ที่ถูกค้นพบโดย นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส อองรี มูโอต์ ในปี พ.ศ. 2403 แต่จริงๆแล้วก็เคยมีบันทึกว่ามีผู้ที่เดินทางมาถึงนครวัดแล้วเช่น

    บี.พี. กรอสลิเออร์ ชาวโปรตุเกส พ.ศ.2091 เขียนบันทึกชื่อ Angkor et le Cambodge au XVIe siecle

    ดิโอโจ โด กูโต เจ้าหน้าที่อาลักษณ์บันทึกพงศาวดารโปรตุเกสประจำอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ที่เขียนบันทึกถึงเมืองพระนครไว้มากที่สุด

    อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา นักบวชโปรตุเกส ผู้มาในปีพ.ศ. 2129

    มาร์เซลโล เดอ ไรบา-เดอเนียรา ทหารรับจ้างชาวสเปน พ.ศ.2136

    ชิมาโน เคนเรียว ล่ามชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเขมรระหว่าง พ.ศ.2166-2179

    ทั้งหมดทั้งปรวง ก็ชาวต่างชาติทั้งนั้น แต่ต่างกับเขาพระวิหารตรงที่ นครวัด นั้นตั้งอยู่ในดินแดงของกัมพูชาอย่างชัดเจน

    ขอนอกเรื่องนิดนึงค่ะ ได้เคยไปดูมาแล้ว ต้องบอกว่าใหญ่โต สง่างาม เหนือคำบรรยายาจริงๆค่ะ

    ตอบลบ